Month: June 2023

10 ขั้นตอนวัดความดันโลหิตด้วยตนเองให้ถูกต้องแม่นยำ

10 ขั้นตอนวัดความดันโลหิตด้วยตนเองให้ถูกต้องแม่นยำ

การวัดความดันโลหิตเป็นการวัดแรงดันของเลือดที่ไหลผ่านและกระทบกับผนังหลอดเลือดเป็นจังหวะ เป็นการวัดการทำงานของหัวใจ และแรงต้านส่วนปลายของหลอดเลือด มีการวัด 2 ค่า ได้แก่ ค่าความดันโลหิตตัวบน (Systolic Blood Pressure) คือ ค่าความดันโลหิตในหลอดเลือดที่เกิดขึ้นขณะที่หัวใจบีบตัว และ ค่าความดันโลหิตตัวล่าง (Diastolic Blood Pressure) คือ ค่าความดันของเลือดที่ขณะที่หัวใจคลายตัว มีหน่วยเป็น มิลลิเมตรปรอท (mmHg) ในประเทศไทยกำหนด ค่าความดันโลหิตปกติ คือ ค่าตัวบนไม่เกิน 140 และตัวล่างไม่เกิน 90 มิลลิเมตรปรอท สำหรับความดันโลหิตสูงจะแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ 10 ขั้นตอนการวัดความดันโลหิต  กรณีที่มีกำหนดนัดพบแพทย์ รพ.จะมีเอกสารให้บันทึกค่าความดันไว้ล่วงหน้าประมาณ 7-10 วันแล้วแต่แพทย์สั่งเพื่อหาค่าเฉลี่ยความดันของร่างกาย ความดันโลหิตสามารถสะท้อนความผิดปกติ และข้อบ่งชี้ในบางโรคที่เกี่ยวข้องได้ การวัดความดันที่บ้านต่อเนื่องกันทุกวัน วันละ 4 ครั้ง ทำให้ทราบค่าเฉลี่ยของความดันโลหิต ซึ่งดีกว่าการวัดครั้งเดียวที่โรงพยาบาลซึ่งพบว่า  1 ใน 3 ของผู้ป่วยจะมีค่าความดันที่บ้านต่างจากที่โรงพยาบาล ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการวินิจฉัยโรค และประเมินการรักษาของแพทย์ที่แม่นยำมากขึ้น