Month: December 2019

ไม่อยากเป็นโรคความดันโลหิตสูง ต้องหลีกเลี่ยงอาหารอะไรบ้าง

ความดันโลหิตสูง เป็นโรคเรื้อรังที่องค์การอนามัยโลกและกระทรวงสาธารณสุขของไทยต้องการรณรงค์ทุกคนรักษาสุขภาพให้ห่างไกลจากโรคนี้มากขึ้น โดยเพิ่มการออกกำลังกายและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการรับประทานอาหาร เรามาดูกันว่าอาหารใดบ้างที่ควรหลีกเลี่ยงเพื่อลดความเสี่ยงต่อภาวะโรคนี้ อาหารที่มีความเสี่ยง ที่ควรหลีกเลี่ยง อาหารมีเกลือปรุงรสเค็มและผงชูรส ซอสปรุงรสเค็ม อย่าง น้ำปลา ซีอิ๊ว ซอสมะเขือเทศ เต้าเจี้ยว ฯลฯ ที่เราใช้ในการทำอาหารคาว หากดูที่ข้างฉลากจะมีตัวเลขแสดงเกลือโซเดียมอยู่ในปริมาณที่สูง ซึ่งมีการศึกษาพบว่า หากวันหนึ่งเรารับประทานเกลือมากกว่า 1 ช้อนชา จะทำให้ระดับความดันโลหิตสูงขึ้น 5-10 mmHg ได้ นอกจากนี้ ควรลดปริมาณผงชูรสในเมนูอาหารด้วย เพราะผงชูรสมีสูตรทางเคมีว่าโมโนโซเดียมกลูตาเมต จะทำให้เสี่ยงต่อความดันโลหิตสูงขึ้นได้เช่นกัน อาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง เนื่องจากหลอดเลือดของเรามีโอกาสอุดตันได้ง่ายจากไขมันอิ่มตัวที่มาจากอาหาร โดยเฉพาะเส้นเลือดขนาดเล็กที่ไปเลี้ยงหัวใจและสมอง เมื่อมีการอุดตัน ระดับความดันจะเพิ่มสูงขึ้นมาก ควบคู่กับปากเบี้ยว ความจำเสื่อม และหากไม่รีบรักษา ก็จะทำให้เป็นอัมพฤกษ์อัมพาตได้ อาหารที่มีไขมันอิ่มตัว ควรหลีกเลี่ยง ได้แก่ เมนูอาหารจากหนังไก่ มันหมู นมข้นหวาน เบเกอรี่ คุกกี้ เค้ก ฯลฯ และน้ำมันพืชบางชนิด เช่น น้ำมันปาล์ม นอกจากนี้ อาหารที่ทำด้วยการทอด จะมีไขมันทรานส์ซึ่งเป็นไขมันอิ่มตัวชนิดหนึ่ง อยู่ในสัดส่วนที่สูงกว่าอาหารที่ทำด้วยการต้มหรือนึ่ง แนะนำให้ผู้ที่ทำอาหารรับประทานเอง …

สิ่งที่ต้องรู้เมื่อต้องใช้ยาประจำตัว เพื่อความปลอดภัยของคุณ

ปัจจุบันมีคนป่วยด้วยโรคประจำตัวมากขึ้น เช่น ความดันโลหิตสูง ไขมันสูง โรคเบาหวาน ฯลฯ ซึ่งจำเป็นต้องรับประทานยาอย่างถูกต้อง เพื่อให้ได้ผลการรักษาที่ดีและต้องป้องกันปัญหาลดความเสี่ยงด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับยาที่รับประทานด้วย เราจะมีวิธีการอย่างไร เพื่อดูแลตัวเองในการรับประทานยาอย่างปลอดภัยและได้ผลดีที่สุด 1. ใช้ยาตามที่แพทย์สั่งเท่านั้น เมื่อรักษากับโรงพยาบาลหรือคลินิกใด ก็ควรพบแพทย์ที่นั่นแห่งเดียว เพื่อให้มีแพทย์ประจำตัวที่รู้ประวัติการใช้ยาต่างๆ ของเรามากที่สุด ไม่ควรหาซื้อยาอื่นๆ เองเพิ่มเติมโดยไม่จำเป็น เพราะอาจเกิดปัญหายาตีกันทำให้ไม่ได้ผล หรือยาซ้ำซ้อนกัน จนเกิดอันตรายได้ 2. แจ้งเจ้าหน้าที่เรื่องโรคประจำตัวและยาที่แพ้ทุกครั้ง หากคุณมีปัญหาโรคติดเชื้อที่ไม่จำเป็นต้องกินยาต่อเนื่องอย่างยาโรคเรื้อรัง เช่น เป็นหวัด ท้องเสีย ฯลฯ คุณอาจซื้อยาที่ร้านขายยาใกล้ๆบ้านก็ได้ แต่ก็ควรแจ้งเจ้าหน้าที่ที่ร้านให้ทราบว่าเคยแพ้ยาอะไรบ้าง หรือมีโรคประจำตัวอะไรอยู่ เพื่อให้การเลือกยาเหมาะสมกับคุณมากขึ้น ลดความเสี่ยงแพ้ยาซ้ำรุนแรงจนอาจเสียชีวิตได้ 3. สอบถามผู้เชี่ยวชาญก่อนการซื้อวิตามิน วิตามินหลายชนิดจะมีผลส่งเสริมฤทธิ์ของยา เช่น กระเทียม แปะก๊วย หรือน้ำมันปลาในแคปซูล สามารถช่วยเพิ่มการไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงสมองได้ดี แต่ก็มีข้อเสียที่ทำให้เลือดเหลว เสริมฤทธิ์กับยาแอสไพรินที่คนไข้โรคหัวใจและหลอดเลือดมักได้รับจากแพทย์เพื่อป้องกันหลอดเลือดอุดตัน จะทำให้เลือดหยุดช้าถ้ามีบาดแผล ดังนั้น ก่อนการเลือกซื้อวิตามินใดๆ จึงควรปรึกษาแพทย์ประจำตัวหรือผู้เชี่ยวชาญก่อนถึงผลดีผลเสียของยา 4. การตรวจสอบอายุของยาเป็นประจำ ยาแต่ละชนิดจะมีวันหมดอายุไม่เท่ากัน ยาเม็ดส่วนใหญ่มีอายุ 5 ปี ยาน้ำมักมีอายุ …