Tag Archives: ปัญหาสุขภาพ

เช็กด่วน! ของกินชนิดไหนที่ควรหรือไม่ควรกินตอนท้องว่าง

เช็กด่วน! ของกินชนิดไหนที่ควรหรือไม่ควรกินตอนท้องว่าง

เวลาเรารู้สึกหิวหรือท้องว่างแทบไม่ได้สนใจเลยว่าของประเภทไหนที่ไม่ควรทาน มีอะไรใกล้มือหยิบเข้าปากทันที ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ เพราะในช่วงนั้นกระเพาะเรามีน้ำย่อยออกมา เมื่อมีอาหารลงไปน้ำย่อยจะทำปฏิกิริยากับอาหาร อาการที่จะตามมาก็คือ ท้องอืด  ปวดท้อง จุก อย่างไรก็ตามควรศึกษาก่อนทานเป็นดีที่สุด ไปดูกันว่าจะมีอะไรบ้างที่ควรเลี่ยงทานในตอนท้องว่าง ท้องว่าง เลี่ยงเมนูนี้ด่วนหากไม่อยากสุขภาพแย่  1.การทานผักสด ได้ยินเช่นนี้เชื่อว่าหลายคนคงสงสัยและค้านในใจ เพราะผักมีประโยชน์ แต่หากเลือกทานในตอนท้องว่างหรือผิดเวลา อาการที่จะตามมาคือไม่สบายท้อง ท้องอืด 2.กระเทียม พริก หากเลือกทานในยามที่ท้องว่างอาจทำให้กระเพาะอาหารเป็นแผลได้ 3.กล้วย แม้ว่าจะเป็นผลไม้ที่ให้พลังงานสูง เหมาะกับคนที่ไดเอต แต่ขอเตือนเลยว่าไม่ควรทานตอนท้องว่าง เพราะในกล้วยมีแมกนีเซียมส่งผลทำให้หลอดเลือดหัวใจทำงานผิดปกติและอาจท้องอืดได้เช่นกัน 4.นม โยเกิร์ตหรือถั่วเหลือง เป็นของท่านง่ายและเชื่อว่าดีต่อสุขภาพ แต่หารู้ไหมว่าหากดื่มในตอนท้องว่างจะทำให้ท้องอืด 5.ชาแก่หรือชงชาแบบเข้ม ไม่ควรดื่มตอนท้องว่างอย่างยิ่ง เพราะน้ำชานั้นจะไปทำให้น้ำย่อยในกระเพาะเจือจาง อาการตามมาคือใจสั่น วิงเวียนศีรษะร่วมด้วย ผลไม้และธัญพืชที่ทานตอนท้องว่างดีต่อสุขภาพลำไส้ 1.มะละกอ เพราะในนั้นอุดมไปด้วยไฟเบอร์และเอนไซม์ปาเปน (Papain) เป็นสารอาหารที่ดีต่อระบบย่อยอาหาร สามารถขับสารพิษ ป้องกันมะเร็งลำไส้  ยกให้เป็นสุดยอดผลไม้ที่ดีต่อสุขภาพ  2.แตงโม ภายในผลไม้ชนิดนี้อุดมไปอิเล็กโทรไลต์ (Electrolyte) และไลโคปีน (Lycopene) ดีต่อหัวใจและดวงตา ทานในปริมาณที่พอเหมาะช่วยเพิ่มปริมาณน้ำในร่างกาย นอกจากนี้ยังช่วยปรับอารมณ์ให้ดีขึ้นด้วย เครียด ๆ จากการทำงานควรทาน …

5 โรคยอดฮิตที่มาพร้อมพฤติกรรมติดสมาร์ตโฟน

5 โรคยอดฮิตที่มาพร้อมพฤติกรรมติดสมาร์ตโฟน

ต้องยอมรับเลยว่าปัจจุบันสมาร์ตโฟนกลายเป็นอุปกรณ์สื่อสารที่ไม่ว่าใครก็ขาดไม่ได้ เพราะสมาร์ตโฟนถูกพัฒนาให้ทำได้มากกว่าการโทรติดต่อสื่อสาร แต่ยังสามารถพูดคุยผ่านแชท อีเมล ถ่ายภาพ ถ่ายวิดีโอ ดูหนัง ฟังเพลง ท่องโลกโซเชียลมีเดีย ฯลฯ นั่นทำให้ไม่ว่าจะมองไปทางไหน ใคร ๆ ต่างก็หยิบสมาร์ตโฟนขึ้นมาใช้งานเสมอ แต่รู้หรือไม่ว่าแม้สมาร์ตโฟนจะช่วยอำนวยความสะดวกในการดำเนินชีวิตมากเท่าไหร่ แต่สมาร์ตโฟนก็ก่อให้เกิดผลเสียได้ โดยเฉพาะผู้ใช้สมาร์ตโฟนต่อเนื่องเป็นเวลาหลายชั่วโมง โดยพฤติกรรมก้มหน้าเล่นสมาร์ตโฟนเป็นต้นเหตุของโรคหลายอย่างที่อาจนำมาซึ่งปัญหาสุขภาพในอนาคต 5 โรคยอดฮิตที่มาพร้อมพฤติกรรมติดสมาร์ตโฟน 1. โรควุ้นในตาเสื่อม สำหรับคนทำงาน เชื่อว่าแต่ละวันจำเป็นต้องใช้สายตาจ้องคอมพิวเตอร์มากพออยู่แล้ว ยิ่งหากมีพฤติกรรมเสพติดสมาร์ตโฟนจะยิ่งทำให้สายตาทำงานหนัก โดยเฉพาะการปิดไฟเล่นโทรศัพท์มือถือบ่อย ๆ ที่ในระยะยาวจะทำให้ดวงตาเริ่มพร่ามัว มองเห็นเป็นจุด ๆ หรือรู้สึกว่ามีหยากไย่ในตา แนะนำให้พักสายตาทุก 20-30 นาที เพื่อเลี่ยงโรคดังกล่าว 2. โรคนิ้วล็อก การกดสมาร์ตโฟนบ่อย ๆ ส่งผลให้เอ็นบริเวณนิ้วเกิดอาการบาดเจ็บ โดยเฉพาะบริเวณนิ้วโป้งเพราะเป็นนิ้วที่ต้องงอติดต่อเป็นเวลานาน ทำให้นิ้วเกิดอาการบวมจนเป็นสาเหตุทำให้นิ้วล็อก ซึ่งหากปล่อยไว้โดยไม่รักษาหรือไม่เลิกพฤติกรรมดังกล่าวจะทำให้เกิดปัญหาบริเวณนิ้วมือในระยะยาว 3. โรคนอนไม่หลับ โรคนอนไม่หลับ ไม่ได้เกิดจากความเครียดหรือความวิตกกังวลเท่านั้น แต่ยังเกิดจากการติดสมาร์ตโฟน เนื่องจากแสงหน้าจอจะส่งผลต่อการหลั่งฮอร์โมนเมลาโทนินที่ส่งผลต่อการนอนหลับ จึงเป็นสาเหตุให้หลับยากหรือนอนหลับไม่สนิท 4. โรคซึมเศร้า ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่าการติดสมาร์ตโฟนจะทำให้เกิดโรคซึมเศร้าได้ สาเหตุหลักคือการท่องโลกโซเชียลมีเดียมากเกินไปจนทำให้เกิดการเปรียบเทียบชีวิตคนอื่นกับชีวิตตนเองที่อาจไม่สวยหรูเท่า จนทำให้เกิดความวิตกกังวล …

ปัญหานอนไม่หลับ จัดการได้อย่างไร

ปัญหาการนอนไม่หลับเป็นปัญหาสุขภาพที่พบได้บ่อยมากขึ้นในยุคปัจจุบัน ซึ่งสังเกตได้จากการต้องใช้เวลามากกว่าปกติจึงจะหลับ และเมื่อหลับแล้วก็จะตื่นง่าย มีความรู้สึกว่าฝันร้าย ตื่นขึ้นมามีความอ่อนเพลีย ทำให้ขาดสมาธิในการทำงานระหว่างวัน ส่งผลต่อภาวะสุขภาพจิต ทำให้หงุดหงิดโมโหง่ายในระยะยาวด้วย อาการนอนไม่หลับ เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น 1. สิ่งแวดล้อมรอบข้าง มีเสียงดังรบกวน กลิ่นเหม็น สภาพอากาศที่ร้อนหรือหนาวเกินไป 2. มีภาวะโรคทางจิต อย่างเป็นโรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล หรือโรคเครียดทำให้ไม่สามารถหลับได้ง่าย 3. มีโรคทางกาย เช่น กรดไหลย้อน ทำให้มีอาการแสบร้อนคอในช่วงเวลาตอนนอน โรคหอบหืดหรือไออย่างรุนแรง ทำให้หายใจไม่โล่ง แน่นหน้าอกบ่อย เป็นเนื้องอกที่ทำให้มีความเจ็บปวด 4. การบริโภคเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนสูง จะกระตุ้นทำให้หลับยาก รวมถึงการสูบบุหรี่ที่มีสารนิโคติน ทำให้ร่างกายตื่นตัว 5. การใช้ยาที่มีผลข้างเคียงทำให้ใจสั่น เช่น ยารักษาหอบหืด ยาลดน้ำมูกบางตัว 6. การต้องเปลี่ยนการทำงานเป็นกะตลอดเวลา เช่น งานรอบเช้า บ่าย และดึก ทำให้ร่างกายไม่สามารถปรับตัวได้ 7. เกิดจากอายุ เนื่องจากอายุที่มากขึ้น กระบวนการทำงานของฮอร์โมนที่ช่วยในการหลับลดลง ทำให้คุณภาพในการนอนหลับแย่ลง วิธีลดปัญหาการนอนไม่หลับ สามารถเริ่มได้จากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการเข้านอนให้เป็นเวลา อาจตั้งเวลาไว้ว่าต้องนอนไม่เกิน …